ความเป็นมาของโครงการ
“กรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของชาติ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอนุรักษ์คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมไว้ รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานเป็นพิเศษเฉพาะพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า เป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. 2546 ซึ่งดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าและกรอบแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ซึ่งได้ประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ แล้วรวม 31 เมือง ได้แก่ เมืองเก่ากลุ่มที่ 1 จำนวน 9 เมือง และเมืองเก่ากลุ่มที่ 2 จำนวน 22 เมือง และเมืองเก่าที่อยู่ระหว่างดำเนินการจำนวน 5 เมือง และได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ระดับเมือง เพื่อทำหน้าที่ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าในระดับพื้นที่ โดยจากการติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน ในพื้นที่เมืองเก่าที่ผ่านมา พบว่า บุคลากรที่ทำหน้าที่เป็นคณะอนุกรรมการฯ รวมถึงภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ยังมีความรู้ความเข้าใจในข้อมูลบริบทพื้นที่และแนวทางการดำเนินงานไม่ชัดเจนและไม่ทั่วถึง กระบวนการผลักดันและช่องทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานระหว่างพื้นที่และเครือข่ายการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่ายังมีน้อย และยังขาดระบบการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในพื้นที่เมืองเก่า รวมทั้งขาดการติดตามประเมินผลการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าที่มีประสิทธิภาพ ทำให้องค์ประกอบเมืองเก่า คุณค่าของเมือง และเอกลักษณ์ของความเป็นเมืองเก่าค่อยๆ ถูกลดความสำคัญและถูกทำลาย
ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จึงเห็นสมควรดำเนินงานโครงการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองเก่าอย่างยั่งยืน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลเมืองเก่าที่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ในพื้นที่เมืองเก่า ระบบฐานข้อมูลสถานที่สำคัญอาคารที่มีคุณค่าอันควรอนุรักษ์ และองค์ประกอบเมืองเก่าที่สำคัญอื่น ๆ มติคณะรัฐมนตรี กฎหมายและข้อระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดทำระบบเครือข่ายเมืองเก่าและติดตามการดำเนินงาน โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบฐานข้อมูลและเว็บไซต์ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นช่องทางในการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรและสร้างความรู้ความเข้าใจในข้อมูลบริบทพื้นที่เมืองเก่าแต่ละเมือง และแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับพื้นที่ และระดับนโยบายเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าแต่ละเมือง และนำไปสู่การสร้างความตระหนักและทัศนคติที่ดีต่อการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าเพื่อขับเคลื่อนและผลักดันให้แต่ละจังหวัดได้ดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าให้สัมฤทธิ์ผลอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลเมืองเก่า เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถติดตามการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชนที่คาดว่าจะได้รับ
- มีระบบฐานข้อมูลเมืองเก่า ที่แสดงข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ ข้อมูลที่ใช้สำหรับการติดตามผลการดำเนินงานการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า และการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเมืองเก่าอื่นที่มีอยู่แล้ว เพื่อเป็นเครื่องมือให้ทุกภาคส่วนนำไปใช้สนับสนุนในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยรวดเร็ว
- หน่วยงานและเครือข่ายเมืองเก่า สามารถเข้าถึงและใช้งานระบบฐานข้อมูลเมืองเก่า และมีช่องทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าระหว่างกันมากขึ้น ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าที่สัมฤทธิ์ผล

โครงการจัดทำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม : เมืองเก่า
โครงการจัดทำมาตรฐานคุณภาพส…

โครงการจัดทำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม : เมืองเก่า
โครงการจัดทำมาตรฐานคุณภาพส…