สรุปภารกิจของกลุ่มงานจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๕- พ.ศ. ๒๕๕๘
๑) จัดทำแผนปฏิบัติการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติอันควรอนุรักษ์เฉพาะแหล่ง แล้วเสร็จ จำนวน ๓๓ แผน ในพื้นที่แหล่งธรรมชาติ ๗๖ แหล่ง เช่น บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ซากไดโนเสาร์ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น น้ำตกห้วยจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น และได้นำเสนอแผนฯ ต่อหน่วยงานในพื้นที่รับทราบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว
๒) จัดทำดัชนีประเมินคุณค่าความสำคัญของแหล่งธรรมชาติ รวม ๑๐ ประเภท (แหล่งธรรมชาติ ๑๐ ประเภท ประกอบด้วย ประเภทน้ำตก ชายหาด ถ้ำ แหล่งน้ำ ภูเขา โป่งพุร้อน ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา ซากดึกดำบรรพ์ เกาะ และแก่ง) พร้อมคู่มือในการเพิ่มศักยภาพบุคลากรในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เพื่อให้องค์กรที่เกี่ยวข้องในการ ดูแลแหล่งธรรมชาติ พร้อมทั้งใช้เป็นคู่มือในการประเมินคุณค่าความสำคัญของแหล่งธรรมชาติ และความเสี่ยงของพื้นที่ที่จะถูกทำลายจากกิจกรรมต่างๆ ซึ่งดัชนีฯ ดังกล่าว ได้นำไปดำเนินการในพื้นที่แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ประเภทชายหาด รวม ๑๔๔ ชายหาด
๓) จัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมแม่น้ำ คู คลอง ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๔ เรื่อง นโยบายและแผนงานการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมแม่น้ำ คู คลอง และได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานโดยให้องค์กรชุมชนและผู้นำชุมชนในการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมแม่น้ำ คู คลอง
๔) จัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๖)
๕) จัดทำเกณฑ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ แล้วเสร็จ รวม ๔ ประเภท ได้แก่ มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทโป่งพุร้อน ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา ภูเขา และน้ำตก
๖) การเสริมสร้างศักยภาพ และการนำแผนต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติร่วมกับเครือข่าย และหน่วยงานในพื้นที่ คือ หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นประจำจังหวัด และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เช่น
– การอบรมการเสริมสร้างการอนุรักษ์แหล่งโป่งพุร้อนสำนักสงฆ์ธารน้ำร้อน ตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
– การนำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม : โป่งพุร้อน ไปสู่การปฏิบัติ ณ จังหวัดลำปาง
– การนำแผนบูรณาการเพื่อการอนุรักษ์ ปกป้อง คุ้มครองและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้ง การอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการอนุรักษ์ ปกป้อง คุ้มครองและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ให้กับชุมชน ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม
– การเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในท้องถิ่นและผู้ประกอบการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ พัฒนา และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมคลองอัมพวา: ภายใต้แผนปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ชุมชนริมแม่น้ำ คู คลอง: พื้นที่นำร่องคลองอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๒) ให้กับเยาวชนในเขตเทศบาลตำบลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ณ โรงเรียนบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม
– การอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพในการอนุรักษ์ พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทถ้ำ ถ้ำเอราวัณ อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู ( ร่วมกับหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู)
– ได้เสริมสร้างศักยภาพให้กับบุคลากรในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ประเภทภูเขา ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ รวม ๖๓ หน่วยงาน
๗) มีฐานข้อมูลระบบสารสนเทศแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ในเว็บไซต์ http://www.onep.go.th/thailandnaturalsites
๘) การติดตามประเมินผล
๘.๑ ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๕๖) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖-๒๕๕๘
๘.๒ ติดตามประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ๕๓ หน่วยงาน รวม ๗๑ แหล่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๙ ในระบบเว็บไซต์ http://www.onep.go.th/ thailandnaturalsites
๘.๓ ติดตามประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ประเภทภูเขา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ๖๓ หน่วยงาน รวม ๖๘ แหล่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๕๙ ในระบบเว็บไซต์ http://www.onep.go.th/ thailandnaturalsites
๘.๔ ติดตามประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ประเภท น้ำตก จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ๔๔ หน่วยงาน รวม ๘๓ แหล่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ในระบบเว็บไซต์ http://www.onep.go.th/ thailandnaturalsites
ซึ่งกลุ่มงานจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ได้มีการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนี้